การก่อสร้าง ของ สะพานคู่ขนานสะพานพระราม 9

สะพานคู่ขนานสะพานพระราม 9 เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2563[7] ก่อนเริ่มลงเสาเข็มตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม โดยบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง[8] ใช้เวลาการก่อสร้าง 39 เดือน ด้วยงบประมาณการก่อสร้าง 6,636,000,000 บาท[2] จนกระทั่งเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ได้ทำพิธีเทคอนกรีตจุดสุดท้ายเชื่อมต่อสะพานอย่างเป็นทางการ (Final Casting Ceremony) โดยศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานในพิธี ทำให้โครงสร้างของสะพานขึงเชื่อมกัน 100% ปัจจุบันอยู่ระหว่างลาดยาง ตีเส้นผิวการจราจร เก็บรายละเอียดโครงสร้างเล็กน้อย รวมถึงการตกแต่งสถาปัตยกรรม[6] และทดสอบระบบสะพาน[9] ซึ่งมีกำหนดเสร็จสิ้นในวันที่ 30 มีนาคม[10] อย่างไรก็ตาม การก่อสร้างทางขึ้น-ลงสะพานฝั่งธนบุรีซึ่งอยู่นอกเหนือจากสัญญาการก่อสร้างสะพานนั้นติดปัญหาการรื้อย้ายแนวท่อประปา และระบบไฟฟ้า ซึ่งเป็นจุดจ่ายไฟฟ้าหล่อเลี้ยงให้กับพื้นที่ย่านใจกลางกรุงเทพมหานครในช่วงถนนสาทรถึงถนนสีลม ประกอบกับมีพื้นที่ทำงานที่จำกัด ต้องใช้ความระมัดระวังในการทำงาน ทำให้การก่อสร้างทางขึ้น-ลงสะพานล่าช้า[11] จึงคาดว่าจะเปิดการจราจรบนสะพานได้ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2567[9] โดยเปิดให้รถสัญจรเป็นส่วนแรกของทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกตะวันตก ตั้งแต่ตัวสะพานไปจนถึงด่านสุขสวัสดิ์ ก่อนจะเปิดอย่างเต็มรูปแบบในช่วงปลายปีเดียวกัน จากนั้นปี พ.ศ. 2568 จะทำการปิดปรับปรุงสะพานพระราม 9 ครั้งใหญ่ต่อไป[6]

แหล่งที่มา

WikiPedia: สะพานคู่ขนานสะพานพระราม 9 http://www.terraserver.com/imagery/image_gx.asp?cp... http://www.wikimapia.org/#lang=en&lat=13.68201&lon... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... https://www.bangkokbiznews.com/business/1004316 https://www.condonewb.com/insight/1895/%E0%B8%AA%E... https://www.facebook.com/KepBieTaiDHunRaan/videos/... https://www.google.com/maps/@13.68201,100.51798,17... https://wego.here.com/?map=13.68201,100.51798,14,n... https://map.longdo.com/?mode=icons&lat=13.68201&lo...